มีขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1. ทบทวนการดำเนินงานและการกำหนดเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงาน
2. จัดทำประมาณการรายจ่ายประจำที่จำเป็นของหน่วยงาน
– ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากร
– ค่าใช้จ่ายประจำของหน่วยงาน
3. จัดทำรายละเอียดวงเงินคำของบประมาณของหน่วยงาน
– งบบุคลากร
– งบดำเนินงาน
– งบลงทุน
– งบเงินอุดหนุน
– งบรายจ่ายอื่น
4. จัดส่งเอกสารประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการ แบ่งออกเป็นแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี และรายปี เป็นแผนของหน่วยงานของรัฐตั้งแต่ระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามบทบัญญัติพระราชกฤษฎีกาวว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2562 ที่กําหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี และรายปี โดยแผนปฏิบัติราชการจะเป็นแผนระดับที่ 3 หลัก ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่2 นโยบายรัฐบาล รวมทั้งแผนระดับที่3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน… ที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติทิ่ชัดเจนและเป็นรปูธรรม
แผนปฏิบัติการด้าน เป็นแผนการพัฒนาเชิงประเด็น ที่ไม่ใช่การดําเนินการที่มีลักษณะเป็นภารกิจปกติ และมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 หน่วยงาน ตั้งแต่ระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป
จากข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/ประธาน คปต. ในคราวประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สามารถสื่อสารภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้ และต่อมาในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี/ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เห็นควรให้มีการจัดตั้งศูนย์ภาษาให้แก่เด็กและประชาชนทั่วไป โดยควรเริ่มตั้งแต่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กช่วงอายุ 4-7 ปี ให้สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวน 184 ศูนย์ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จำนวน 92 ศูนย์ จังหวัดยะลา จำนวน 24 ศูนย์ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 19 ศูนย์ และจังหวัดสงขลา (4 อำเภอ) จำนวน 49 ศูนย์
แนวคิดใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
1. จังหวัดปัตตานี นวัตกรรมการศึกษา พัฒนาคุณภาพ สู่พลเมืองอัจฉริยะปัตตานีอย่างยั่งยืน (หลักสูตร Pattani Heritage สู่การเป็น Smart People Smart City)
2. จังหวัดยะลา การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การพัฒนาทักษะอาชีพ ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
3. จังหวัดนราธิวาส จัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กลมกลืน ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา เพื่อสังคมสันติสุข
จะมีหลายหน่วยงานที่จัดกิจกรรมดังกล่าวในพื้นที่ เช่น
1. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล
2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล
3. วิทยาลัยชุมชนจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล
4. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานของแต่ละจังหวัด
ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพราะบางหน่วยงานจะมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์
การดำเนินงานหลังจากรับเอกสารของผู้มีสิทธิขอรับทุนฯ มีขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับทุนฯ และจัดทำข้อมูลรายชื่อผู้มีสิทธิขอรับทุนฯ
2. นำข้อมูลรายชื่อพร้อมเอกสารประกอบการขอรับทุนฯเข้าประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินงานทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องของผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. นำข้อมูลรายชื่อพร้อมเอกสารประกอบการขอรับทุนฯเข้าประชุมคณะกรรมการบริหารทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องของผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. เสนอรายชื่อผู้มีสิทธิขอรับทุนฯ ที่ผ่านการเห็นชอบจากการประชุมให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติรายชื่อ
5. โอนเงินทุนการศึกษาไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดโอนไปยังผู้มีสิทธิรับทุนต่อไป
กรณีรายเดิม
1. หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษา ทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องของผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการ (แบบ ศ.3)
2. สําเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
3. เอกสารผลการเรียนของปีที่ผ่านมา
กฎ กติกา ในการใช้งานกระดานถาม – ตอบ ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศค.จชต.)
ศค.จชต. ขอความร่วมมือตามกฎและกติกาในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม ให้มีความเป็นระเบียบ ซึ่งทำให้ได้รับคำตอบที่รวดเร็วกว่า และสามารถเป็นองค์ความรู้ที่สามารถจัดการประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาง ศค.จชต. มีกฎเกณฑ์การใช้งานดังต่อไปนี้
กฎกติกา ในการร่วมแสดงความคิดเห็น / โพสข้อความทั่วไป
- ห้าม โพสต์ข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และราชวงศ์
- ห้าม โพสข้อความหรือเนื้อหา โจมตี หรือวิพากษ์วิจารณ์ศาสนา และ คำสอนของศาสนาใด ๆ ทุกศาสนา
- ห้าม เสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย คำด่า ข้อความลามกอนาจาร ข้อความที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีงาม
- ห้าม เสนอข้อความอันมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร
- ห้าม เสนอข้อความอันเป็นการท้าทาย ชักชวน ยั่วยุ ให้เกิดการทะเลาะวิวาท ความวุ่นวาย ความเกลียดชัง ความรุนแรงทางสังคม หรือ ข้อความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสังคมใดๆ
- ห้าม เสนอข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น e-mail address เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญ และ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ห้ามโฆษณาขายสินค้า และบริการต่างๆในกระดานถาม-ตอบ ศค.จชต.
- ห้าม โพสข้อความหรือเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย และ ผิดศีลธรรม
- สมาชิกผู้ใดที่ละเมิดกฎ กติกา ผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการระงับสิทธิ์การโพสต์ข้อความบนกระดานถาม-ตอบ
อนึ่ง ข้อห้ามในกฎ กติกา ที่กล่าวไว้ข้างต้น ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการใช้ดุลยพินิจที่จะลบข้อความดังกล่าว (หรือลบทั้งกระทู้) ออกไปโดยอาจไม่แสดงเหตุผลให้ทราบล่วงหน้า รวมถึง ขอสงวนสิทธิ์ในการขยายผลในการดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อปกป้องสิทธิของสาธารณชน ตามสมควรแก่ความผิด
คำแนะนำในการใช้งานกระดานถาม-ตอบ ศค.จชต.
- ตรวจดูว่ามีกระทู้ที่มีเนื้อหาในทางเดียวกับที่กำลังจะตั้งกระทู้ เพื่อจะได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
- เปิดใจให้กว้าง ยินดีรับฟังและเคารพในเสรีภาพของการเสนอความคิดเห็นของผู้อื่น พึงตระหนักอยู่เสมอว่านี่เป็นเสมือนสังคมหนึ่งที่เปิดกว้างต่อสาธารณะ
- การเสนอความเห็นต่อกระทู้ใดๆ พึงระลึกเสมอว่า มีผู้อ่านที่แตกต่างกันทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ และวุฒิภาวะ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการใช้ข้อความ เช่น ข้อความที่ส่อไปในทางอนาจาร หรือมีผลยั่วยุทางกามารมณ์ ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง ข้อความที่มีเนื้อหาขัดต่อกฏหมาย หรือศีลธรรมอันดีของสังคม ข้อความที่พาดพิงบุคคลอื่นในทางหมิ่นประมาท เป็นต้น
- พึงตระหนักอยู่เสมอว่า การเสนอคำถามหรือความเห็นต่อสังคม ควรจะมีความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่ได้เสนอไป เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานอันดีต่อสังคมอินเทอร์เน็ตสืบไป